แหล่งท่องเที่ยว

 สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอแม่สอด




แม่น้ำเมย (พม่าเรียกว่า แม่น้ำต่องยิน)



เป็นเส้นกั้นเขตแดนประเทศไทยกับสหภาพพม่า มีความยาวประมาณ 327 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้ไหลขึ้นมิได้ไหลลงเช่นแม่น้ำทั่วๆ ไป มีต้นน้ำอยู่ที่บ้านมอเกอ ตำบลพบพระ อำเภอพบพระ แล้วไหลผ่านอำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง ไปถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอนแล้วมาบรรจบกับแม่น้ำสาละวินแล้วไหลลงอ่าวมะตะบันในเขตพม่า
การเดินทาง จากอำเภอแม่สอดใช้ทางหลวงหมายเลข 105 ไปประมาณ 10 กิโลเมตร สุดเขตแดนไทยถึงแม่น้ำเมย



เนินพิศวง



อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 68 สายตาก - แม่สอด มีลักษณะเป็นทางขึ้นเนินที่แปลก คือเมื่อนำรถไปจอดไว้ตรงทางขึ้นเนินโดยไม่ได้ติดเครื่องรถจะไหลขึ้นเนินไปเอง มีนักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ถึงสาเหตุนี้พบว่า เกิดจากเป็นภาพลวงตา เนื่องจากได้มีการวัดระดับความสูงของเนินลูกนี้แล้วปรากฏว่า ช่วงที่มองเห็นเป็นที่สูงนั้น มีระดับความสูงต่ำกว่าช่วงที่เห็นเป็นทางลงเนิน ดังนั้นรถที่เรามองเห็นไหลขึ้นนั้นที่จริงไหลลงสู่ที่ต่ำกว่า แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถบอกได้ว่าเหตุใดจึงมองเห็นเป็นภาพลวงตาเช่นนั้นได้



วัดมณีไพรสณฑ์


ตั้งอยู่ถนนอินทรคีรี เขตเทศบาลเมืองแม่สอด พื้นที่ตั้งหน้าวัดติดถนนใหญ่ด้านหลังติดลำห้วยแม่สอด สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2328 ภายในวัดมีปูชนียวัตถุโบราณสถาน ได้แก่ พระพุทธโคดมบรมศรีเมืองฉอด (หลวงพ่อโต) เจดีย์วิหารสัมพุทเธ มีลักษณะแปลกคือ บนองค์เจดีย์มีเจดีย์ เล็กๆ ล้อมรอบถึง 233 องค์ และพระพุทธรูปบรรจุอยู่ถึง 512,028 องค์ มีโบสถ์เก่าแก่อายุกว่า 200 ปี ที่บริเวณหน้าบัน และหลังคาโบสถ์มีลายไม้ฉลุสวยงาม บริเวณโดยรอบวัดมีซุ้ม และศาลาประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ ได้แก่ หลวงพ่อสังกัจจาย พระพุทธรูปปูนปั้นปางพุทธไสยาสน์ เป็นต้น



วัดโพธิคุณ หรือ วัดห้วยเตย



ตั้งอยู่ตำบลแม่ปะ อ.แม่สอด เป็นวัดป่าสายปฏิบัติที่ร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ภายในวัดออกแบบและจัดวางผัง สภาพภูมิทัศน์ตลอดจนสิ่งก่อสร้างที่งดงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเป็นผลงานการออกแบบและก่อสร้างตกแต่ง ตลอดจนการปั้นพระพุทธรูป โดยคุณสมประสงค์ชาวนาไร่ ศิลปบัณฑิตจากวิทยาลัยครูอุบลราชธานีและมหาบัณฑิตทางด้านโบราณคดีมหาวิทยลัยศิลปากร ท่านได้อุทิศชีวิตและจิตใจในการก่อสร้างนานกว่า 17 ปี เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาโดยไม่ขอรับค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น สิ่งก่อสร้างและจุดที่น่าสนใจศึกษาภายในวัดประกอบด้วย



วัดไทยวัฒนาราม



เดิมชื่อ วัดแม่ตาวเงี้ยว หรือ วัดไทยใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ 1 ตำบลท่าสายลวด ห่างจากตัวอำเภอแม่สอดไปประมาณ 5 กิโลเมตร บริเวณกิโลเมตรที่ 84 ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 105 สายตาก - แม่สอด เส้นที่จะไปตลาดริมเมย ก่อนถึงสะพานมิตรภาพไทย - พม่า เป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายมหายานของชาวไทยใหญ่ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม พิธีกรรมต่างๆ ได้รับอิทธิพลมาจากสหภาพพม่า สร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 โดยนายมุ้ง เป็นชาวพม่ารัฐฉาน ที่อพยพครอบครัวมาอาศัยอยู่ที่อำเภอแม่สอด และได้เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านแม่ตาว ต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า หมื่นอาจคำแหงหาญ ในปี พ.ศ. 2500 ทางกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้เป็นวัดพระพุทธศาสนาในสังกัดกรมศาสนา ในวัดมีพระพุทธมหามุณี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่จำลองมาจากพระพุทธมหามุณีอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองมัณฑเลย์ สหภาพพม่า เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจังหวัดตากศรัทธาเลื่อมใสกันมาก



วัดชุมพลคีรี



ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแม่สอด เป็นวัดเก่าแก่มีอายุกว่า 200 ปี มีเจดีย์สร้างใหม่จำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากองของสหภาพพม่า ภายในโบสถ์ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย ส่วนในวิหารเป็นที่เก็บกลองโบราณมีอายุกว่า 200 ปี



สะพานมิตรภาพไทย-พม่า (ประตูเชื่อมอันดามันสู่อินโดจีน)

 


ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด สุดทางหลวงหมายเลข 105 (สายตาก-แม่สอด) เป็นสะพานสร้างข้ามแม่น้ำเมยระหว่างอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับ เมืองเมียวดีสหภาพเมียนมาร์ (หรือพม่าเดิม) มีความยาว 420 เมตร กว้าง 13 เมตร สร้างเพื่อเชื่อมถนนสายเอเซียจากประเทศไทยสู่สหภาพเมียนมาร์ ตลอดจนภูมิภาคเอเซียใต้ ถึงตะวันออกกลางและยุโรป เป็นประตูสู่ อินโดจีนและอันดามัน แม่น้ำเมย หรือแม่น้ำต่องยิน เป็นเส้นกั้นเขตแดนไทย เมียนมาร์ที่ยาวถึง 327 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้แปลกกว่าแม่น้ำทั่วไปคือไหลขึ้นทางทิศเหนือ โดยมีจุดกำเนิดที่บ้านน้ำด้น (เป็นน้ำที่ผุดขึ้นจากใต้ดิน) อำเภอพบพระ ไหลผ่านอำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำภอท่าสองยาง ผ่านบ้านสบเมย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บรรจบกับแม่น้ำสาละวิน ไหลเข้าเขตพม่าลงอ่าวมะตะบัน



ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน



ตั้งอยู่ทางขวามือ ทางหลวงหมายเลข 105 (ตาก-แม่สอด) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 70-71 ศาลนี้เพิ่งสร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อปลายปี 2523 เหตุที่สร้างศาลนี้เล่ากันว่า มีคหบดีผู้หนึ่งเจ็บปวดด้วยโรคอัมพาตมาช้านานแล้ว ได้ฝันว่ามีผุ้มาบอกให้สร้างศาลแห่งนี้ขึ้น ตรงบริเวณที่เป็นศาลปัจจุบัน คหบดีผู้นี้จึงสร้างศาลขึ้นถวายเรียกว่า ศาลเจ้าพ่อขุนสามชมนับแต่นั้นมาอาการของคหบดีผู้นั้น ก็เป็นปกติ ชาวบ้านจึงให้ความเคารพนับถือศาลนี้มาก



ศาลเจ้าพ่อพะวอ



ตั้งอยู่บนเนินดินเชิงเขาพะวอ ถนนสายตาก - แม่สอด บริเวณกิโลเมตรที่ 62 - 63 ศาลนี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองตาก และชาวอำเภอแม่สอดมาก เล่ากันว่าท่านเป็นนักรบชาวกะเหรี่ยง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงแต่งตั้งให้เป็นนายด่านอยู่ที่ด่านแม่ละเมา เพื่อคอยป้องกันข้าศึกมิให้ข้ามเขามาได้ เดิมทีศาลเจ้าพ่อพะวออยู่อีกด้านหนึ่งของเขา แต่เมื่อตัดถนนไปทางใหม่จึงได้มาสร้างศาลขึ้นใหม่ มีผู้เล่าว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ถ้าใครไปล่าสัตว์ในบริเวณเขาพะวอแล้วมักจะเกิดเหตุต่างๆ เช่น รถเสีย เจ็บป่วย หรือหลงทาง และเพราะเหตุที่เจ้าพ่อพะวอเป็นนักรบ จึงชอบเสียงปืน ทำให้ผู้ที่เดินทางมาสักการะมักยิงปืนถวาย จุดประทัด หรือบีบแตรถวายท่านเป็นการแสดงความเคารพ



ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

 


อยู่ตรงข้ามสนามกีฬาเทศบาลแม่สอด สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2545 เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ครั้นเมื่อพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแกลง ประเทศสหภาพเมียนมาร์ โดยเสด็จผ่านด่านแม่ละเมา อ.แม่สอดเป็นแห่งแรก



ศูนย์พัฒนา และสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดตาก



ตั้งอยู่ที่ตำบลพะวอ บนดอยมูเซอ อยู่ในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์ เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆ ศูนย์ฯ นี้อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 800 ฟุต เริ่มตั้งแต่กิโลเมตรที่ 25 - 26 มีเนื้อที่ทั้งหมด 26,500 ไร่ ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในบริเวณดอยมูเซอ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ม้ง หรือแม้ว และลีซอ ปัจจุบันชาวเขาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอพยพมาจากมณฑลทางตอนใต้ของประเทศจีน และเมืองปันในเขตรัฐฉานของสหภาพพม่า รวมทั้งเขตเชียงตุงด้วย


สถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ




ตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์พัฒนา และสงเคราะห์ชาวเขา บนเทือกเขาถนนธงชัย อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 900 เมตร เป็นสถานที่ทดลองวิจัยเมล็ดพันธุ์กาแฟ ชา ผลไม้ ผักต่าง ๆ และดอกไม้เมืองหนาว ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมดอกบัวตองบนเทือกเขา บริเวณที่ตั้งสถานีฯ จะออกดอกบานสะพรั่ง



ล่องแก่งแม่ละเมาเทือกเขาถนนธงชัย

 


ลำน้ำแม่ละเมาเป็นสายน้ำที่มีต้นกำเนิดจากลำห้วยหลายสาย จากเทือกเขาในเขตติดต่ออำเภอพบพระ อำเภออุ้มผาง ไหลไปทางทิศเนือผ่านบ้านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด ไหลไปรวมมกับกลำห้วยแม่กาษา แล้วไปบรรขบกับแม่น้ำเมยที่บ้านวังผา อำเภอแม่ระมาด การล่องแก่งในลำน้ำแม่ละเมาจึงมีกิจกรรมให้ท่านได้เลือกหลากหลาย เช่น



คอกช้างเผือก



ตั้งอยู่เขตบ้านท่าอาจ ต.ท่าสายลวด ตามทางหลวงหมายเลข 105 (ตาก-แม่สอด) ด่อนถึงตลาดริมเมย ประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาผ่านหน้าวัดไทยวัฒนารามตามทางลาดยาง ประมาณ 2 กิโลเมตร คอกช้างเผือกนี้มีลักษณะเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน ปากคอกกว้างประมาณ 15 เมตร เป็นรูบสอบขนานกันไป ยาวประมาณ 50 เมตร ก่อสร้างในสมัยสุโขทัย ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 88 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2531 หน้า 21 (ฉบับพิเศษ) มีพื้นที่ 7 ไร่ 87 ตารางวาตามพงศาวดารกล่าวว่า ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีมะกะโท (คนเลี้ยงช้าง) เป็นชาวมอญได้เข้ารับราชการเป็นขุนวัง มีโอกาสใกล้ชิดพระนางสร้อยดาว พระราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อครั้งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชยกทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราช มะกะโทจึงลักลอบพาพระราชธิดาหนีไปอยู่ที่เมืองเมาะตะมะเป็นราชธานี พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้พระราชทานนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว (มีพระราชพงศาวดารพม่าว่า "สมิงวาโร" คำให้การของชาวกรุงเก่า มีพระนามว่า "พระเจ้าวาริหู" ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1 และราชาธิราช มีพระนามว่า "พระเจ้าวาโรตะละไตยเจิญภะตาน") ต่อมามีช้างเผือกดุร้ายเชือกหนึ่ง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเสี่ยงสัตย์อธิษฐานว่า หากช้างเผือกนี้เป็นช้างคู่บารมีของกษัตริย์นครใด ขอให้ช้างเผือกนี้บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงแน่พระทัยว่า ช้างเผือกนี้เป็นช้างคู่บารมีของพระเจ้าฟ้ารั่ว จึงให้ทหารนำสาส์นไปแจ้งให้พระเจ้าฟ้ารั่วมาคอยรับช้างเผือก ครั้นถึงเชิงเขาแห่งหนึ่งมีแม่น้ำขวางกั้น ทหารที่ติดตามช้างเผือกมาจึงทำพะเนียดล้อมช้างเผือกเอาไว้ เมื่อพระเจ้าฟ้ารั่วเสด็จมาก็ทำพิธีรับมอบช้างเผือกกัน ณ ที่แห่งนี้



ตลาดริมเมย สุดชายแดนไทย-พม่า หรือ สุดประจิมที่ริมเมย



ตั้งอยู่ต.ท่าสายลวด สุดทางหลวงหมายเลข 105 (สายตาก-แม่สอด) เป็นสถานที่ติดต่อค้าขายระหว่างไทย-พม่าโดยมีแม่น้ำเมยเป็นเส้นกั้นเขตชายแดนไทย-พม่า เป็นตลาดขายสินค้านำเข้าจากประเทศอินเดียและจีน ซึ่งตลาดแห่งนี้เป็นแหล่งค้าขายอัญมณีที่มีชื่อเสียง เช่น หยก ทับทิม และพลอยสีจากพม่า ซึ่งมีทั้งแปรรูปเป็นอัญมณีรียบร้อยแล้ว และยังไม่ได้แปรรูปอีกมากมาย ตลอดจนงานหัตถกรรม เฟอร์นิเจอร์ วัตุโบราณจากไม้สัก

การเดินทาง สามารถขึ้นรถสองแถวจากตลาดอำเภอแม่สอดไปตลาดริมเมยทุกวัน โดยลงที่บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-พม่า อัตราค่าโดยสารคนละ 10 บาท

ตลาดสินค้าพื้นเมืองชาวเขาดอยมูเซอ และพิพิธภัณฑ์มูเซอดำ



ตั้งอยู่บนดอยมูเซอ ริมเส้นทางสายตาก - แม่สอด ทางหลวงหมายเลข 105 บริเวณกิโลเมตรที่ 28 ตลาดแห่งนี้ท่านจะได้พบเห็นภาพวิถีชีวิตของชาวไทยภูเขาที่นำผลผลิตจากไร่สวนมาจำหน่าย ภายในบริเวณตลาดยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์มูเซอดำ ซึ่งได้รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอดำและชาวเขาเผ่าต่างๆ ไว้ทั้งหมดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หากมีความประสงค์จะชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมของชาวเขา กรุณาติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา กรุณาติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดตาก โทรศัพท์ 0 5551 3614 และบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31 เป็นตลาดมูเซอเก่า โดยทั้งสองตลาดนี้เป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาวเขา ได้แก่ เสื้อผ้า เครื่องเงิน และพืชผลต่าง ๆ ทางการเกษตร เปิดจำหน่ายทุกวัน



น้ำตกแม่กาษา



อยู่ที่ตำบลแม่กาษา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีทางเดินขึ้นไปบนเขาสูง มีถ้ำ และธารน้ำกว้างประมาณ 5 เมตร เป็นทางจากปากถ้ำถึงน้ำตก
การเดินทาง จากเส้นทางสายแม่สอด - แม่ระมาด (ทางหลวงหมายเลข 105) ประมาณกิโลเมตรที่ 13 - 14 มีป้ายทางเข้าเขียนว่า บ้านแม่กื๊ดสามท่า จากปากทางเข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร และมีทางแยกเข้าไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร


น้ำพุร้อนแม่กาษาและถ้ำแม่อุษา

   



การเดินทางไปยังน้ำพถร้อนแม่กาษาและถ้ำแม่อุษานั้น ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 105 (แม่สอด-แม่ระมาด) แยกขวาตรงหลักกิโลเมตรที่ 13 ผ่านหมู่บ้านแม่กาษาถึงน้ำพุร้อนและถ้ำแม่อุษา ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร จำนวน 2 บ่อ มีอุณหภูมิของน้ำสูง ประมาณ 75 องศาเซลเซียส ปัจจุบันมีห้องบริการอาบน้ำแร่และบ่ออาบน้ำ ซึ่งไม่มีกลิ่นฉุนจากก๊าซกำมะถัน บริเวณโดยรอบบ่อน้ำพุร้อน มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และยังมีถ้ำแม่อุษาที่สวยงาม เป็นถ้ำขนาดใหญ่มีห้องโถงถึง 13 ห้องที่มีทางเดินถึงกันได้ทุกห้อง ภายในมีหินงอกหินย้อยรูปแบบต่างๆ แต่ละห้องจะมีความสวยงามแปลกตาไม่เหมือนกัน เช่น ห้องเห็ดหลินจือ เพชรพิมาน กำหล่ำแก้ว ธาราแก้ว เสาเอก กาน้ำเจ้าแม่อุษา เป็นต้น ภายในอากาศโปร่งเย็นสบายไม่อับและเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวนับล้านตัว ใช้เวลาเดินชมความงดงามภายในถ้ำประมาณ 3 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางได้ที่ศูนย์บริการหมายเลขโทรศัพท์ 0 5555 7190, 0 5555 7133



พระธาตุหินกิ่วที่ดอยดินจี่



ตั้งอยุ่ท่บ้านวังตะเคียน หมู่ที่ 5 ต.ท่าสายลวด วัดพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่มีพระธาตุประดิษฐานอยู่ในสถูปเจดีย์ชาวบ้านเรียกว่า "พญาล่อง" ตั้งอยู่บนภูเขา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมอญขนาดเล็ก สร้างไว้บนก้อนหินด้วยแรงศรัทธาในกพระพุทธศาสนา เป็นความมหัศจรรย์จากธรรมชาติ ลักษณะเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนชะง่อนผากิ่วคอด เหมือนจะขาดออกจากกัน ชาวบ้านเรียกหินมหัศจรรย์นี้ว่า "เจดีย์หินพระอินทร์แขวน" ประวัติความเป็นมาใสการสร้างพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่ที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ผู้สร้างเป็นชาวกะเหรี่ยงในสมัยที่อังกฤษปกครองพม่า ชื่อว่า นายพะส่วยจาพอได้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ได้นำเงินตราเหรียญรูปีบรรทุกหลังช้างมา เพื่อหาที่สำหรับสร้างเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชา ครั้นมาถึงบริเวณผากินกิ่ว (หรือดินจี่) ได้มองเห็นหินก้อนใหย่โดชะโงกงำตั้งอยู่บนหน้าผาสูงขัน และมีลักษณะคล้ายกับเจดีย์พระอินทร์แขวนในจังหวัดมัณพเลย์ ประเทศพม่า จึงได้ทำการก่อสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้นำพระสารีสริกธาตุบรรจุไว้ในองค์เจดีย์ พร้อมกับพระพุทธรูปทองคำจำนวน 5 องค์ พระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่ ตั้งอยู่บนชะง่อนผาสูง มองลงมาข้างล่างจะเห็นทิวทัศน์ในเขตประเทศพม่าชัดเจน หินที่อยู่บนดอยนี้มีลักษณะสีดำหรือสีนำตาลไหม้ จึงเรียกว่า "พระธาตุดอยดินจี่" ซึ่งหมายถึงดินที่ไฟไหม้ ในราวเดือน กุมภพันธ์ ชาวอำเภอแม่สอด และหม่าจะมีงานนมัสการพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่นี้ทุกปี นอกจากนี้บริเวณวัดพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่ยังมีสิ่งสำคัญคือ เรือโบราณพบเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2539 โดยชาวบ้านวังตะเคียน ได้ช่วยกันกู้ขึ้นมาเก็บรักษาไว้ที่เชิงดอยดินกี่ เป็นเรือท่าขุดจากไม้ซุงทั้งต้น ขนาดจองเรือกว้าง 126 เมตร ยาว 13.35 เมตร สูง 0.52 เมตร หนา 0.04 เมตร ส่วนหัวเรือและท้ายเรือ มีความยาวเท่ากัน (ประมาณ 1.20 เมตร) ภายในเรือมีช่องสำหรับสอดไม้กระดานเพื่อทำเป็นที่นั่ง จำนวน 4 ช่อง มีระยะห่างไม่เท่ากัน จากรูปและขนาดของเรือ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรือที่ใช้ในการขนส่งอาหาร หรือสินค้าระหว่างทั้งสองฝั่งแม่น้ำเมย มีอายุประมาณ 200 ปี


การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 105 ผ่านหมู่บ้านท่าอาจ และหมู่บ้านวังตะเคียน จะพบทางแยกขวามือมีป้ายบอกทางไปพระธาตุหินกิ่ว 3 กิโลเมตร

 บรรณานุกรม

 http://www.relaxzy.com/province/tak/attraction-maesod2.html
 http://nid-maesod.blogspot.com/
http://www.taktourism.com/